สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 22-28 กุมภาพันธ์ 2564

 

ข้าว
 
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,886 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,871 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,202 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,260 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,970 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,206 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 882 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,182 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 549 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,331 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,327 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 4 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 546 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,241 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 553 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,416 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.27 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 175 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.7463 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับตัวลดลงหลังจากผ่านพ้นช่วงเทศกาลตรุษเวียดนาม (Tet) โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 505-510 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 510-515 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวฤดูใหม่ (winter-spring crop) ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมากขึ้น โดยมีแนวโน้มว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะมีปริมาณมากขึ้น
นาย Nguyen Van Thanh ผู้บริหารของบริษัท Phuoc Thanh IV Production - Trading Co., Ltd. ระบุว่าราคาข้าวคุณภาพสูงของเวียดนาม เช่น ข้าวพันธุ์ OM541 อยู่ที่ประมาณตันละ 530-535 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวพันธุ์ DT8 อยู่ที่ประมาณตันละ 550-555 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอม Jasmine อยู่ที่ประมาณตันละ 570 ดอลลาร์สหรัฐฯ
วงการค้ารายงานว่า ผู้ค้าข้าวต่างเร่งซื้อข้าวจากเกษตรกร เพราะคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามา
มากขึ้น ซึ่งช่วยดันราคาข้าวเปลือกเจ้าให้ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี ที่ราคาประมาณ 6,200-7,000 ดองต่อกิโลกรัม ทั้งนี้คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมนี้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ รายงานว่า ภาพรวมสถานการณ์ข้าวเวียดนาม
ปี 2563 จากข้อมูลกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ในปี 2563 เวียดนามมีผลผลิตข้าวเปลือกรวมปริมาณ 42.8 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 0.2 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวลดลงประมาณ 1.25 ล้านไร่ อย่างไรก็ดีผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 8 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเทียบกับปี 2562 และมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวคุณภาพดีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ74 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 50 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวเวียดนาม อันเป็นผลมาจากความพยายามของเวียดนามในการเพิ่มมูลค่าข้าว ทำให้ปัจจุบันการส่งออกข้าวคุณภาพดีของเวียดนามมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 85 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยข้าวเวียดนามปี 2563 เพิ่มขึ้นจากตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2562 เป็นตันละ 496 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2563 เวียดนามส่งออกข้าวรวมประมาณ 6.15 ล้านตัน มูลค่า 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 3.5 ขณะที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปี 2562
ในปี 2563 ผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ประมาณร้อยละ 34 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม โดยเวียดนามส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ประมาณ 2.22 ล้านตัน มูลค่า 1.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และร้อยละ 19.30 เมื่อเทียบกับปี 2562 ส่วนตลาดส่งออกข้าวอื่นๆ ที่มีการส่งออกเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปี 2563 ได้แก่ อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2562 และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 93
เมื่อเทียบกับปี 2562
สำหรับทิศทางการส่งออกข้าวเวียดนามปี 2564 นั้น สมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association; VFA) คาดว่าในปี 2564 เวียดนามยังสามารถส่งออกข้าวได้ดี เนื่องจากตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์และแอฟริกา ยังคงมีการเซ็นสัญญาซื้อข้าวจากเวียดนาม ในขณะที่อีกหลายประเทศมีความต้องการข้าวหอมและ
ข้าวเหนียวอย่างมาก ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับการส่งออกของเวียดนาม นอกจากนั้นความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและ
พหุภาคีระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆ เช่น ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement - EVFTA) และความตกลงการค้าเสรีระหว่างอังกฤษ-เวียดนาม (The UK-Vietnam free trade agreement - UKVFTA) สร้างข้อได้เปรียบจากสิทธิพิเศษทางภาษีทำให้ข้าวเวียดนามสามารถแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นได้มากขึ้น
นาย Nguyen Canh Cuong ที่ปรึกษาการค้าของเวียดนามในสหราชอาณาจักรกล่าวว่าการส่งออกข้าวไปยัง
สหราชอาณาจักรในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับปี 2563 บริษัทในสหราชอาณาจักรหลายรายมีความต้องการซื้อข้าวเวียดนามภายใต้ความตกลง UKVFTA สร้างโอกาสให้ข้าวเวียดนามขยายส่วนแบ่งการตลาดในสหราชอาณาจักรในปีนี้ โดยในปี 2562 การส่งออกข้าวจากเวียดนามไปยังสหราชอาณาจักรเติบโตอย่างก้าวกระโดดโดยมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 376 ทำให้คาดว่าสหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกข้าวที่มีศักยภาพสูงของเวียดนาม
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จาก FTA ต่างๆ บริษัทส่งออกข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม อาทิ บริษัท Intimex JSC. บริษัท Loc Troi Group บริษัท VRICE Co. บริษัท Trung An High Technology Agriculture JSC. กำลังวางแผน
ที่จะแสวงหาลูกค้าใหม่ในตลาดที่เวียดนามได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร
ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม จะให้ข้อมูลแก่บริษัทส่งออกข้าวเกี่ยวกับสถานการณ์
ความต้องการของตลาดอย่างทันที และจะดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อช่วยผู้ส่งออกข้าวเวียดนามเข้าถึงลูกค้า
ได้ดีขึ้นนอกจากนี้กระทรวงฯ จะนำเสนอข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบและอุปสรรคภายใต้ข้อตกลง FTA ต่างๆเพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถเพิ่มความเข้าใจและจัดทำแผนการค้าที่เหมาะสม นอกจากนี้ สมาคมอาหารเวียดนามยังได้สร้างช่องทางการขายออนไลน์รวมทั้งจัดการสัมมนาการค้าออนไลน์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวอีกด้วย
ทั้งนี้ เวียดนามได้แนะนำให้ผู้ส่งออกข้าวให้ความสำคัญกับสินค้าที่คุณภาพสูง และมีผลการส่งออกที่ดี รักษาด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหาร เพื่อสามารถเข้าสู่ตลาดที่มีความต้องการด้านคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารอย่างสูง เช่น สหภาพยุโรป อเมริกา และแคนาดา นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าหากเวียดนามต้องการรักษาการเติบโตของการส่งออกข้าวในปี 2564 จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างห่วงโซ่มูลค่าข้าวที่ครบวงจรและควบคุมคุณภาพในการผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่ายสินค้า
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

กัมพูชา
นาย Song Saran ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodian Rice Federation; CRF) คาดว่าในช่วง
ไตรมาสแรกของปี 2564 นี้ (มกราคม-มีนาคม 2564) กัมพูชาจะไม่สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ส่งออกกำลังประสบปัญหาเรื่องการส่งมอบสินค้า ซึ่งทำให้ในเดือนมกราคม 2564 สามารถส่งออกได้เพียง 34,273 ตัน ลดลงถึงร้อยละ32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และคาดว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้ การส่งออกจะลดลง เนื่องจากปัญหาการขนส่งทางเรือที่ยังคงมีปัญหาไปทั่วโลก
ทั้งนี้ การส่งออกข้าวไปยังตลาดหลัก เช่น จีน คาดว่าจะยังคงไปได้ดี แต่การส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป
คาดว่าจะยังคงประสบปัญหา เนื่องจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งส่งผลให้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา
มีการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปลดลงถึงร้อยละ 60 โดยในปัจจุบันผู้ส่งออกต่างมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าแต่ยังไม่สามารถส่งมอบได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในวงการขนส่งสินค้าทางเรือคาดว่าปัญหาการขนส่งสินค้าทางเรือจะเริ่มคลี่คลายในช่วงไตรมาสที่สองเป็นต้นไป
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodian Rice Federation; CRF) รายงานราคาส่งออกข้าวประจำวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 โดยข้าวหอม Jasmine (Malys Angkor) ชนิด 5% ราคาอยู่ที่ตันละ830 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เท่ากับวันที่ 10 กุมภาพันธ์2564 ที่ตันละ 830 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ข้าวหอม Fragrant Rice (Sen Kra Ob - SKO) ชนิด 5% ราคาอยู่ที่
ตันละ770 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นจากราคาวันที่ 10 กุมภาพันธ์2564 ที่ตันละ750 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ข้าวขาว (White Rice Premium / Soft cooking) ชนิด 5% ราคาอยู่ที่ตันละ580 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ลดลงจากวันที่ 10 กุมภาพันธ์2564 ที่ตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ)ข้าวขาวอินทรีย์(Organic White Rice – Premium Quality) ชนิด 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 920 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เท่ากับราคาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์2564 ที่ตันละ920 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และข้าวนึ่งอินทรีย์ (Organic Parboiled Rice – Premium Quality) ชนิด 5% ราคาอยู่ที่ตันละ990 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เท่ากับราคาเมื่อวันที่
10 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ตันละ 990 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ข้าวหอมอินทรีย์ (Organic Jasmine - Malys Angkor) ชนิด 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 1,380 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เท่ากับราคาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์2564 ที่ตันละ1,380 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และข้าวกล้องหอมอินทรีย์ (Organic Brown Jasmine-Premium quality) ราคาอยู่ที่ตันละ 1,350 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เท่ากับราคาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์2564 ที่ตันละ1,350 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.20 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.65 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.86
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 325.75 ดอลลาร์สหรัฐ (9,690 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 324.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,624 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 66 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 554.80 เซนต์ (6,595 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 547.32 เซนต์ (6,490บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 105 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.75 ล้านตัน (ร้อยละ 22.60 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.41 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ความต้องการใช้หัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะมันเส้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.09 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.44
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.86 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.84 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.34
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.92 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.84 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.17
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.55 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐ 7,823 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,807 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,367 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 473 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,041 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.11


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.015 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.806 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.145 ล้านตัน ของเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 25.93 และร้อยละ 26.21 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.05 บาท ลดลงจาก กก.ละ 7.11 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 14.91                                          
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 37.44 บาท ลดลงจาก กก.ละ 39.65 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.57         
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียซึ่งเป็นตลาดผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำทั้งปี และสภาน้ำมันปาล์มมาเลเซีย (MPOC) จะพยุงราคาน้ำมันปาล์มที่สูงอยู่ต่อไป ซึ่งสาเหตุที่ผลผลิตของอินโดนีเซียและมาเลเซียลดลงมาจากสภาพอากาศชื้นและการขาดแคลนแรงงาน ทำให้สต็อกคงเหลือของมาเลเซีย ณ สิ้นปี 2563 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 13 ปี ที่ปริมาณ 1.27 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,967.84 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.90 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,945.56 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.56    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,106.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.41 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,111.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.43   
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          Gradient Commercial คาดว่ารัฐมหาราษฎของอินเดียจะผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 10 ล้านตันในฤดูกาลนี้ ซึ่งลดลงเกือบ 1 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีฝนตกลงมาในช่วงท้ายการเก็บเกี่ยว และน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลในอ้อยลดลง ส่วนรัฐกรณาฎกะอาจจะต้องสิ้นสุดฤดูกาล
เก็บเกี่ยวอย่างกะทันหัน



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 19.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,404.88 เซนต์ (15.58 บาท/กก.) สูงขึ้น
จากบุชเชลละ 1,380.10 เซนต์ (15.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.80
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 425.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 427.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.59
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 49.96 เซนต์ (33.24 บาท/กก.) สูงขึ้น
จากปอนด์ละ 47.13 เซนต์ (31.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.00

 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.79 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 30.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,178.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,181.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ทรงตัวในรูปของเงินบาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,111.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กิโลกรัม) ลดลง
จากตันละ 1,113.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ทรงตัวในรูปของเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,280.75 ดอลลาร์สหรัฐ (38.10 บาท/กิโลกรัม) ลดลง
จากตันละ 1,283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.09 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 670.75 ดอลลาร์สหรัฐ (19.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลง
จากตัน 672.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่ทรงตัวในรูปของเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,138.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.86 บาท/กิโลกรัม) ลดลง
จากตันละ 1,140.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.86 บาท/กิโลกรัม) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ทรงตัวในรูปของเงินบาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.25
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.37 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 9.43 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 92.12 เซนต์(กิโลกรัมละ 61.31 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 88.54 เซนต์ (กิโลกรัม 58.79 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.04 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.52 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,848 บาท ลดลงจาก 1,880 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 1.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,848 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,510 บาท ลดลงจาก 1, 552 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 2.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,510 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน  
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท สูงขึ้นจาก 942 บาท ของสัปดาห์   ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.21 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 944 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน

               
 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  76.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.01 คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.74 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.41 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 77.55 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,600 บาท ลดลงจากตัวละ 2,700 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ลดลงจาก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.61 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่าน เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.75 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อยจากการเปิดภาคเรียน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 276 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 270 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.22 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท        ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 288 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน    ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 339 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 344 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 353 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 333 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 340 บาท จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.66 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.22 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.94 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.66 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 

 

 
ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 22 – 28 กุมภาพันธ์ 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.84 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.21 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 137.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.51 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 139.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 134.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.77 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.37 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.59 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา